Diary no.6
Wednesday,
4 September 1998
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
ว่าเราจำต้องนำไปสอนเด็กๆในช่วง
ศิลปะสร้างสรรค์และอาคารได้บอกความหมายของวิทยาศาสตร์
ว่าทุกๆอย่างที่อยู่รอลตัวทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตนั้นแหละคือวิทยาศาสตร์
ประเภททักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะแสวงหาความรู้ และแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา
เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นตามหลักสูตร science a process approach (SAPA) ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
(The American association for the advancement of science) ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1.
ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ
เหมาะสำหรับระดับการศึกษาปฐมวัย
2.
ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ
เหมาะสำหรับระดับการศึกษามัธยมวัย
ทักษะวิทยาศาสตร์
1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
8 ทักษะ เป็นทักษะเพื่อการแสวงหาความรู้ทั่วไป ประกอบด้วย
ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing)
หมายถึง
การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก
ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล
รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน
ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ
และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้
จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
–
สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
–
สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring)
หมายถึง
การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ
เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้
การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด
รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
–
สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
–
สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
–
สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using
numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ
และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร
เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์
การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
–
สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง
ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ
และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
–
สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้
ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
สเปสของวัตถุ
หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่
ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ
ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่
ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ
ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่
ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา
หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
–
สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
–
สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
–
สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น
ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
–
สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
–
สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้
ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง
การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่
การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น
ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
–
สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
–
สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
–
สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด
และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มา
ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting)
หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ
ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ
หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล
และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้
2.
ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เป็นทักษะกระบวนการขั้นสูงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
เพื่อแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ประกอบด้วย
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง
การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง
ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้
และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
–
สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง
การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
และการทดลองได้
ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น
และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม
ตัวแปรต้น คือ
สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่
ตัวแปรตาม คือ
ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลองตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ
นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุฒให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting)
หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน
แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.
การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ
และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2.
การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3.
การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง
การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
–
สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
–
สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
–
สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
–
สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่
การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต
ทักษะการคำนวณ
คำศัพท์
1. ทักษะการสังเกต ( Observing )
2.ทักษะการวัด ( Measuring )
3.ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )
4.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring )
5.ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting )
ประเมินตัวเอง ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสื่อที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและถามตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายงานที่มอบหมายให้เด็กทำได้เข้าใจง่าย
และมีตัวอย่างการทำบล็อกให้นักศึกษาดูเป็นแบบอย่างด้วย