วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562



Diary no.6

Wednesday,  4 September 1998 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6       
            วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ว่าเราจำต้องนำไปสอนเด็กๆในช่วง ศิลปะสร้างสรรค์และอาคารได้บอกความหมายของวิทยาศาสตร์ ว่าทุกๆอย่างที่อยู่รอลตัวทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตนั้นแหละคือวิทยาศาสตร์


ประเภททักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะแสวงหาความรู้ และแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นตามหลักสูตร science a process approach (SAPA) ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The American association for the advancement of science) ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษาปฐมวัย
2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษามัธยมวัย
ทักษะวิทยาศาสตร์
1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เป็นทักษะเพื่อการแสวงหาความรู้ทั่วไป ประกอบด้วย
ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้ จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
– สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
– สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) หมายถึง การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
– สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
– สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
– สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
– สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง
ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
– สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้
ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
– สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
– สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
– สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้
ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
– สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย

ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มา
ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้
2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เป็นทักษะกระบวนการขั้นสูงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ประกอบด้วย
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้

ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล



ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการทดลองได้
ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่
ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลองตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุฒให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง
            ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
– สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
– สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
– สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ

คำศัพท์
1. ทักษะการสังเกต ( Observing )
2.ทักษะการวัด ( Measuring )
3.ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )
4.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring )
5.ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting )



ประเมินตัวเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสื่อที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและถามตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายงานที่มอบหมายให้เด็กทำได้เข้าใจง่าย และมีตัวอย่างการทำบล็อกให้นักศึกษาดูเป็นแบบอย่างด้วย



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562


Diary no.5

Wednesday, 28 August   1998 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

            วันนี้อาจารย์ได้เรียกพบนักศึกษาพูดเกี่ยวกับงานที่มอบหมายและเรื่องของการเชื่อมบล็อกของเพื่อนและอาจารย์ เพื่อจะให้นักศึกษาทราบว่าในบล็อกมีอะไรบ้าง และได้ปล่อยให้นักศึกษาได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาศาสตร์วิชาการ ที่คณะศึกษาศาสตร์ได้จัดขึ้น ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของงานคณะศึกษาศาสตร์









   คำศัพท์
1.ศึกษาศาสตร์    education
2. กิจกรรม    activities
3.เกมการศึกษา          Educational games   
4.สื่อการสอน    Teaching material
5.นอกสถานที่   Outside


  Diary no.4

Wednesday, 21 August   1998 

                 วันนี้อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระแต่อาจารย์ให้นักศึกษาไปศึกษางานที่งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพคเมืองทองธานี ให้นักศึกษาได้ไปเจอกับอะไรใหม่ๆ 


       กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2562
แนวคิดในการจัดงาน
     งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศ จัดขึ้นเพื่อร่วมเทิด
พระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรม
จากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย สามารถสร้างความตื่นเต้น
สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย โดยเป็นโอกาสที่ประชาชนและเยาวชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์
และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่สนุกสนาน ซึ่งจะก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวก กระตุ้นการคิดและการตั้งคำถาม และนำไปสู่การเป็นผู้รักการ
เรียนรู้ตลอดชีวิตทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
รูปแบบของกิจกรรมในงานเป็นคล้าย เทศกาลวิทยาศาสตร์ (science festival) ในหลายประเทศ คือประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในรูปแบบทันสมัยที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วม (interactive exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New S-Curve) นอกจากนี้ยังนำเสนอประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก
เช่น ภาวะโลกร้อน ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่นๆ โดยเป็นการรวมพลังของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
ผลงานการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ การประกวดและแข่งขันทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนและประชาชน กิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Hands-on ในแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย การประชุม สัมมนา อภิปราย ฝึกอบรม ทางวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแสดงสินค้าทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การจัดงานในปี 2562 ภายใต้แนวคิดหลัก (Theme) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ
3. เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย
4. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
วันเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 16-25 สิงหาคม 2562
เปิดให้บริการระว่างเวลา 9.00 – 19.00 น. (เข้าชมฟรี)
ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 6-12) เมืองทองธานี
นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต
ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2562 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
- นิทรรศการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องพลาสติก
- นิทรรศการปีแห่งตารางธาตุสากล
- นิทรรศการนิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์เรื่อง Nikola Tesla ยอดนักวิทย์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
- นิทรรศการ ๕๐ ปี Moon landing
- นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ
- นิทรรศการข้าว
- นิทรรศการพื้นที่นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Engineering space
3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
- กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
- กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
- กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียน
ในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
- ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
- การแสดงทางวิทยาศาสตร์
- การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
- แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ
ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
- ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม และอื่นๆ
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
- ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
- ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
- การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค




           บรรยากาศในงาน  ตอนที่กลุ่มหนูไป ไปตอนเช้าประมาณเวลา10.00 น. ซึ่งไปถึงงานคนเยอะมากแทบจะไม่มีที่ยืน เวลาเราสนใจอะไรก็ไม่สามารถดูได้นานๆ 



Diary no.3

Friday 15 August   1998 

        วันนี้อาจารย์นัดเรียนรวมทั้งสองห้องพร้อมกัน และอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มที่จับไว้อาทิตย์ที่ผ่านมาและให้หาข้อมูลเติมจากอาทิตย์ที่แล้ว


   เรื่อง น้ำ
แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ คือบริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิวดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ

-ประเภทของน้ำ แบ่งเป็น2ประเภท

1.ธรรมชาติ
1. แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่ หิมะ และลูกเห็บ
2. แหล่งน้ำผิวดิน (Surface Water) ได้แก่ น้ำในบรรยากาศที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกลงสู่ผิวโลก ไหลลงมาขังตามแอ่งที่ต่ำ เช่น หนอง บึง แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ
3. แหล่งน้ำใต้ดิน (Ground Water) เป็นน้ำที่ไหลซึมผ่านชั้นดิน และหิน ลงไปสะสมตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างอนุภาคดินและหิน
4. น้ำที่เป็นส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Water) ได้แก่ น้ำที่เป็นองค์ประกอบทางเคมี หรือเป็นองค์ประกอบในแร่ หิน และดิน และแหล่งน้ำในบรรยากาศ
2.แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
1. บ่อน้ำ
2. อ่างเก็บน้ำ
3. เขื่อน

-คุณสมบัติของน้ำ ได้แก่
น้ำเป็นของเหลวที่ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ที่อุณหภูมิและความดันปกติ สีของน้ำตามธรรมชาติเป็นสีโทนน้ำเงินอ่อน ๆ แม้ว่าน้ำจะดูไม่มีสีเมื่อมีปริมาณน้อย ๆ ก็ตาม น้ำแข็งก็ดูไม่มีสีเช่นกัน และสำหรับน้ำในสถานะแก๊สนั้นโดยปกติเราจะมองไม่เห็นมันเลย

-การดูแลรักษาแหล่งน้ำ
1. บำบัดน้ำเสียและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
2. ใช้บ่อดักไขมันและนำไขมันไปจัดการให้ถูกต้อง
3. ลดปริมาณและความสกปรกของเสียและน้ำเสียที่ระบายจากสถานประกอบการ หรือแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ โดยการลดปริมาณน้ำใช้ การนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีก โดยเฉพาะการเกษตรในพื้นที่ข้างเคียง
4. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย น้ำเสียและของเสียลงสู่แหล่งน้ำและทางระบายน้ำสาธารณะ

-ประโยชน์ของน้ำ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ ตลอดจนพืชถ้าขาดน้ำก็จะต้องแห้งเหี่ยวและเฉาตายในที่สุด มนุษย์ต้องใช้น้ำสัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ใช้น้ำสำหรับดื่ม ใช้หุงต้มอาหาร ใช้ชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ใช้ซักเสื้อผ้า ใช้ในเครื่องทำความร้อน เครื่องลดความร้อน เช่นในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น



        ประเมินตัวเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและช่วยกันหาข้อมูลเกี่ยวกับงานตัวเอง
        ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและถามตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ
        ประเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายงานที่มอบหมายให้เด็กทำได้เข้าใจง่าย และมีตัวอย่างการทำบล็อกให้นักศึกษาดูเป็นแบบอย่างด้วย

-คำศัพท์
1. แหล่งน้ำในบรรยากาศ       Atmospheric Water
2. แหล่งน้ำผิวดิน     Surface Water
3. แหล่งน้ำใต้ดิน     Ground Water
4. น้ำที่เป็นส่วนประกอบทางเคมี   Chemical Water
5.น้ำ  water




Diary no.1

Wednesday,    14 August   1998 
      
  บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
        วันนี้อาจารย์ได้ถามตอบกับนักศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ว่านักศึกษารู้จักอะไรบ้างทีเป็นวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในความคิดของนักศึกษาหมายถึงอะไรและเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง


           อาจารย์ให้จับกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ4-5 คนและอาจารย์ได้สร้าง padlet  ให้นักศึกษาได้เข้ากลุ่มและให้สงงานในนี้หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ในรายวิชานี้

         ท้ายคาบอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มเพื่อที่จะให้ช่วยกันค้นคว้าเกี่ยวกับงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ จะมีเรื่อง เครื่องกล เรื่องแสง เรื่องน้ำ เรื่องอากาศ เรื่องดิน และเรื่องเสียง ซึ้งแต่ละกลุ่มจะได้ไม่เหมือนกัน และกกุ่มของหนูได้คือ เรื่องน้ำ สิ่งที่อาจารย์ให้หามีดังนี้
        1.คุณสมบัติ
        2.ความสำคัญ
        3.ประเภท
        4.การดูแล
        5.ประโยชน์




        ประเมินตัวเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตอบคำถามอาจารย์
        ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและถามตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถ่ม
         ประเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายงานที่มอบหมายให้เด็กทำได้เข้าใจง่าย

         1.ประโยชน์    benefit
         2.คุณสมบัติ   property
         3.ความสำคัญ  momentousness
         4.วิทยาศาสตร์  scientific
          5.การดูแล   guarding


Diary no.1

 Wednesday,   8 August   1998 
      บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
         วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ้งอาจารย์ยังไม่ด้เริ่มในการเรียนการสอนมากนัก แต่อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปหาบทความ วิจัย ตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้ให้นักศึกษาทำบล็อกเหมือนกับทุกๆครั้ง และได้บอกถึงรายละเอียดในการทำบล็อกว่าบล็อกของนักศึกษาต้องมีอะไรบ้างใส่มาให้ครบ


        ประเมินตัวเอง  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายในการสร้างบล็อก
        ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและถามตอบกับอาจารย์ในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ
        ประเมินอาจารย์  อาจารย์อธิบายงานที่มอบหมายให้เด็กทำได้เข้าใจง่าย และมีตัวอย่างการทำบล็อกให้นักศึกษาดูเป็นแบบอย่างด้วย



Diary no.14 Wednesday,27 November 1998 บันทึกการเรียนครั้งที 14 ความรู้ที่ได้รับ                 สัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้เข้...