Diary no.9
Wednesday,2 October 1998
บันทึกการเรียนครั้งที
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่อาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมสัมมนากับรุ่นพี่ปี
5 ได้ฟังรุ่นพี่นำเสนอเกี่ยวกับการฝึกสอนต่าง
วิธีการสอน แนวคิดวิธีคิดในการคิดกิจกรรมการเรียนการสอน นอกจากได้รับการอบรมร่วมกับรุ่นพี่แล้ว
อาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมชมนิทรรศการ "การศึกษาปฐมวัยโปรเจกต์
เรือ " ได้เห็นผลงานของรุ่นพี่ที่ได้ใช้ในการฝึกสอน
มีทั้งแผนการจัดประสบการณ์ในสัปดาห์ต่างๆ วิจัย โครงการ
และอีกมากมายที่พี่ๆฝึกสอนได้มาจัดนิทรรศการวันนี้และได้ฟังรุ่นพี่แนะนำอีกว่า
"แผนที่เขียนทั้งหมดจะต้องอ้างอิงมาจากหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นสาระการเรียนรู้
จุดประสงค์ ประสบการณ์สำคัญ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะจัดขึ้น
Project Approach (การสอนแบบโครงการ)
เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ
ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก
และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ
โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง
การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู
เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง
การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ
แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น
การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ
ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย
ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project
Approach) ผู้สอนสามารถจัดเป็นนิทรรศการที่เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก
ๆ ที่จะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้ถึงวิธีการทำงานที่เป็นกระบวนการตามขั้นตอน
นอกจากการเรียนรู้แล้ว Project Approach ยังเป็นการสอนเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อในความเป็นจริงที่เด็ก
ๆ มีความสนใจและพยายามสืบค้นด้วยตัวเอง ทั้งยังช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี
วิธีการสอนแบบ Project Approach
เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง
หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ
คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3
ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ
ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ
ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก
และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ
ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น
คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก
และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind
Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind
Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย
เรียนรู้แบบ
Project Approach แบ่งออกเป็น 3
ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ
เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ
จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ
ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้
โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย
พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง
เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น
และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ
โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก
ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่
เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ
คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ
พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ
ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ
ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ
เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ
ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป
คำศัพท์
1.ศึกษาศาสตร์ education
2. กิจกรรม activities
3.เกมการศึกษา Educational games
4.สื่อการสอน Teaching material
5.นอกสถานที่ Outside