วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562



Diary no.14

Wednesday,27 November 1998

บันทึกการเรียนครั้งที 14

ความรู้ที่ได้รับ
                สัปดาห์นี้อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนเนื่องจากอาจารย์มีประชุม และได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ mind map ในหัวข้อ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะให้นักศึกษาทบทวนความรู้ที่เรียนมาและสามารถนำไปอ่านตอนสอนปลายภาค


ประเมินตัวเอง : ตั้งใจทำ mind map ของตนเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนต่างตั้งใจงานของตนเองตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ใส่สนใจนักศึกษาถึงแม้จะติดประชุม

 คำศัพท์ 
1.แผนผังความคิด              mind map
2.นักศึกษา                       Students 
3.ประชุม                          a meeting
4.ใส่ใจ                              pay attention
5.ทบทวน                           review



Diary no.13

Wednesday,20 November 1998

บันทึกการเรียนครั้งที 13

ความรู้ที่ได้รับ
                สัปดาห์อาจารย์ได้ให้นักศึกษาได้ออกมานำเสนอการทดลองของกลุ่มตัวเอง และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปให้เด็กเล่นได้จริง


กังหันน้ำ (น้ำ)


โรงละครหุ่นเงา (แสง)


ปืนอัดอากาศ  (ลม)


เครื่องกรองน้ำ (ดิน)


กีต้า (เสียง)


บ่อตกปลา (เครื่องกล)


ประเมินตัวเอง : ตั้งใจนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของกลุ่มตัวเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของกลุ่มตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำปรึกษาและแนะนำ

คำศัพท์ 
1.ประสิทธิภาพ                 performance
2.สื่อการสอน                    Instruction media
3.ครู                                 teacher
4.ความรู้เพิ่มเติม               More knowledge
5.คำปรึกษา                      Counsel 







Diary no.12

Wednesday,6 November 1998

บันทึกการเรียนครั้งที 12

ความรู้ที่ได้รับ
                สัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาลงพื้นที่เพื่องที่จะให้นักศึกษานำการทดลองวิทยาศาสตร์เหมือนสัปดาห์ที่แล้วไปสอนให้กับเด็กๆที่ ศูณย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ ซึ่งอาจารย์ให้ 3 กลุ่ม ที่เหลือนำการทดลองไปสอนเด็กๆเหมือนเดิม และอีก 3 กลุ่มที่สอนไปแล้วคอยสนับสนุนเพื่อนๆ ช่วยเพื่อนดูแลเด็ก แต่สัปดาห์นี้มีนิทานมาเล่าให้เด็กๆฟัง เพราะได้รับปากเด็กไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และอาจารย์ให้นักษาศึกษาได้สอนอย่างเต็มที่โดยที่อาจารย์จะคอยดูห่างๆ และให้คำแนะนำเป็นระยะๆ และพอจบกิจกรรมอาจจารย์ก็ได้แนะนำวิธีการเก็บเด็ก การพูดกับเด็ก การตั้งคำถาม และเทคนิคการสอนต่างๆ






ประเมินตัวเอง : ตั้งใจช่วยเพื่อนเก็บเด็กและคอยสนับสนุนเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจสอนการทดลองและมีความสุขที่ได้นำการทดลองไปสอนเด็กๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำปรึกษาและแนะนำอยู่ตลอดเวลา

 คำศัพท์ 
1.นิทาน                      tale
2.ความสุข               happiness
3.ความตั้งใจ            Determination
4.การอบรมเลี้ยงดู      Parenting training
5.สนับสนุน                 support



Diary no.11

Wednesday,30 October 1998

บันทึกการเรียนครั้งที 11
ความรู้ที่ได้รับ
                วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาลงพื้นที่เพื่องที่จะให้นักศึกษานำการทดลองไปสอนให้กับเด็กๆที่ ศูณย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ ซึ่งอาจารให้มาทำการทดลองแค่ 3 กลุ่ม และอีก 3 กลุ่มคลอยสนับสนุนเพื่อนๆ ช่วยเพื่อนดูแลเด็ก และอาจารย์ให้นักษาศึกษาได้สอนอย่างเต็มที่โดยที่อาจารย์จะคอยดูห่างๆ และให้คำแนะนำเป็นระยะๆ และพอจบกิจกรรมอาจจารย์ก็ได้แนะนำวิธีการเก็บเด็ก การพูดกับเด็ก การตั้งคำถาม และเทคนิคการสอนต่างๆ







ประเมินตัวเอง : ตั้งใจที่จะนำการทดลองไปสอนเด็กๆและได้อย่างเต็มใจ และมีความสุข
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจและมีความสุขที่ได้นำการทดลองไปสอนเด็กๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำปรึกษาและแนะนำอยู่ตลอดเวลา
  
คำศัพท์ 
1. เด็กปฐมวัย       Early childhood
2.กิจกรรม            activities        
3.การทดลอง        test
4.การลงมือกระทำ    Action
5.วิทยาศาสตร์      science



Diary no.10

Wednesday,16 October 1998

บันทึกการเรียนครั้งที 10

ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมที่ 1
            การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการทดลอง”วิทยาศาสตน์”ของกลุ่มตัวเองอีกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะนำไปทำการสอนน้องๆที่มูลนิธิซอยเสือใหญ่ พอแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนออาจารย์ก็ให้คำแนะนำเรื่องเทคนิคการสอนและการใช้คำถามกันเด็ก













กิจกรรมที่ 2
           อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่และแจกกระดาษให้นักศึกษาและใหแบ่บครึ่งกันเพื่อให้นักศึกษาได้ทำสื่อที่อาจารย์กำหนดให้ โดยอาจารย์บอกชิ้นงานที่จะทำแนะนำวิธีและให้นักศึกษาทำทั้งหมดสองชิ้นงาน และให้นักศึกษาถ่ายลงเว็ปที่อาจารย์เคยให้ส่งงาน






บรรยากาศในห้องเรียน
 บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย มีที่นั่งให้ทำกิจกรรมสะดวกสบายและที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน กิจกรรมสนุกไม่น่าเบื่อ ได้ทดลองและ เห็นการทดลองต่างๆที่เราไม่เคยเห็น ได้คิดสื่อเองและได้รู้เกี่ยวกับสื่อเพิ่มมากขึ้น

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอการทดลอง และร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน  และตั้งใจทำชิ้นงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนองานของกลุ่มตัวเองและให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย และให้คำปรึกษากับนักศึกษา

 คำศัพท์ 
1. กระดาษ            paper     
2.สี                    color   
3.คำแนะนำ          guidance
4.ประดิษฐ์             artificial
5.สร้างสรรค์           Creative



Diary no.9

Wednesday,2 October 1998

บันทึกการเรียนครั้งที 

               ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่อาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมสัมมนากับรุ่นพี่ปี 5 ได้ฟังรุ่นพี่นำเสนอเกี่ยวกับการฝึกสอนต่าง วิธีการสอน แนวคิดวิธีคิดในการคิดกิจกรรมการเรียนการสอน  นอกจากได้รับการอบรมร่วมกับรุ่นพี่แล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมชมนิทรรศการ "การศึกษาปฐมวัยโปรเจกต์ เรือ " ได้เห็นผลงานของรุ่นพี่ที่ได้ใช้ในการฝึกสอน มีทั้งแผนการจัดประสบการณ์ในสัปดาห์ต่างๆ วิจัย โครงการ และอีกมากมายที่พี่ๆฝึกสอนได้มาจัดนิทรรศการวันนี้และได้ฟังรุ่นพี่แนะนำอีกว่า "แผนที่เขียนทั้งหมดจะต้องอ้างอิงมาจากหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์ ประสบการณ์สำคัญ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะจัดขึ้น









 






Project Approach (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ผู้สอนสามารถจัดเป็นนิทรรศการที่เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก ๆ ที่จะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้ถึงวิธีการทำงานที่เป็นกระบวนการตามขั้นตอน นอกจากการเรียนรู้แล้ว Project Approach ยังเป็นการสอนเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อในความเป็นจริงที่เด็ก ๆ มีความสนใจและพยายามสืบค้นด้วยตัวเอง ทั้งยังช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี

วิธีการสอนแบบ Project Approach
เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ
ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย

เรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป

คำศัพท์
1.ศึกษาศาสตร์          education
2. กิจกรรม                 activities
3.เกมการศึกษา          Educational games  
4.สื่อการสอน             Teaching material
5.นอกสถานที่             Outside